Saturday, July 4, 2015

บทความจากคลังบทความ
องค์กรธุรกิจมีส่วนช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างไร

Michael Porter และ Jan Rivkin ได้เขียนบทความชื่อ What business should do to restore Competitivenessใน Fortune Magazine มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
" จากการศึกษาของ Harvard Business School ในโครงการว่าด้วยขีดความสามารถในการแข่งขันของอเมริกา พบว่าองค์กรธุรกิจสามารถมีส่วนช่วยนำการฟื้นฟูและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ 3 ทางหลัก ๆคือ
1. Pursue productivity
สิ่งแรก และก็เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดคือ ผู้บริหารจะต้องบริหารให้การปฎิบัติการในอเมริกาสามารถดำเนินการไปด้วยดี ทั้งในด้านของ Productivity และ Profitability โดยกิจกรรมต่าง ๆซึ่งมีฐานอยู่ในอเมริกาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งที่มีลักษณะเฉพาะให้กับอเมริกาเช่น La-Z Boy ได้หลีกเลี่ยงการการแข่งขันแบบชนกันตรง ๆกับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในเอเชียซึ่งมีค่าแรงต่ำ ด้วยการเน้นให้ความสำคัญต่อ Customization พร้อมกับการส่งมอบที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่มีอยู่ในอเมริกา รวมถึงระดับความชำนาญของพนักงาน
2. Build the commons and the business
องค์กรจำนวนมากได้มองข้ามความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในชุมชนหรือท้องถิ่นไป ในปัจจุบันนี้ผู้บริหารขององค์กรได้เริ่มที่จะตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในชุมชนหรือท้องถิ่น เช่นการขาดแรงงานที่มีความชำนาญก็จะทำให้องค์กรต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างเต็มที่ในการฝึกอบรมเป็นต้น
องค์กรสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในชุมชนหรือท้องถิ่นได้หลายด้าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวองค์กรและประเทศชาติ เช่น
การปรับปรุงทักษะความชำนาญ
การช่วยยกระดับอุตสาหกรรมสนับสนุน
การสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรมและ ความเป็นผู้ประกอบการ
การสนับสนุนเพื่อเสริมสร้าง Regional Strength
โดยในบทความดังกล่าวนี้ได้นำเสนอตัวอย่างการปฎิบัติที่น่าสนใจไว้เช่น Siemens ได้ร่วมมือกับ Central Piedmont Community Collegeในการออกแบบหลักสูตรและการฝึกหัดงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการผลิตขั้นสูงให้แก่แรงงาน เป็นต้น
3. Rein in self-interest
องค์กรธุรกิจสามารถ และควรจะปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่อเมริกา ด้วยการหยุดการกระทำที่เป็นอัตประโยชน์ซึ่งอาจจะทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในชุมชนหรือท้องถิ่นโดยรวมอ่อนแอลง "
บทความเต็มอ่านได้ที่ http://fortune.com/2012/10/15/what-business-should-do-to-restore-competitiveness/

Jan Rivkin (ซ้าย) และ Michael Porter (ขวา)


บทความจากคลังบทความ
ความสำคัญของการเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

Michael E.Porter ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Productivity ไว้ในหนังสือ The Competitive Advantage of Nations ว่า “The only meaningful concept of competitiveness
at the national level is productivity.” 
Michael Porter. Photo by Bloomberg
                                                        
โดย Productivity จะเป็นตัวกำหนดหลักถึงรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อคนของประเทศนั้น ๆในระยะยาว Productivity ของทรัพยากรบุคคลจะมีผลต่อการกำหนดรายได้ให้กับบุคลากร  Productivity จากเงินที่ลงทุนไปจะเป็นตัวกำหนดถึงผลตอบแทนในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน การมี Productivity ที่สูงจึงเป็นสิ่งที่จะนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศชาติในท้ายที่สุด 
นอกจากนั้นแล้ว Michael E.Porter ยังให้ความสำคัญต่อขีดความสามารถเชิงนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการเพิ่ม Productivity ตามรูปด้านล่างอีกด้วย


แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานทุกองค์กรในประเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ จุดสำคัญคือเราจะให้ความสำคัญต่อแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้แล้วนำไปประยุกต์ปฎิบัติได้อย่างจริงจังหรือไม่

วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 ในหัวข้อเรื่อง โมเดลใหม่ในการพัฒนา : สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ (New Development Model : Toward Quality Growth Based on Productivity Improvement) ที่จัดขึ้นโดย TDRI ก็พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับ Productivity อาทิเช่นใน บทความที่ 2: การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการผลิต (Strategies to Create Innovation and Technology Development) ได้กล่าวถึง
     "แนวทางในการเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย โดย 3
      กระบวนการ  หลักคือ การยกระดับกระบวนการผลิต(Process Upgrading)  การยกระดับ
      ผลิตภัณฑ์(Product  Upgrading)      และการยกระดับไปสู่กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
      (Functional Upgrading) เช่น  การเพิ่มการออกแบบ หรือการสร้างแบรนด์แทนการผลิต
      อย่างเดียว...."
รวมทั้งยังได้นำเสนอกรณีศึกษาหลายเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่ม Productivity อาทิเช่น
    " บริษัท ซิลิคอน คราฟท์เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบไมโครชิปที่มีระบบ
      ระบุวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(Radio Frequency Identification: RFID) ที่เน้นด้านการวิจัย
      และพัฒนา และการออกแบบจนสามารถผลตสินค้าที่มีมูลค่่าเพิ่มสูงได้     และมีสินค้า
      เด่น เช่น   ไมโครชิป RFID ที่ติดตัวสัตว์เลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์ ที่มีขีดความสามารถสูง
      กว่าบริษัท Texas Instrument" เป็นต้น
สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) ได้มอบรางวัล ให้กับ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด หนึ่'งในบริษัท RFID ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยประสบความสำเร็จในการคว้ารางวัลประเภทผลิตภัณฑ์นวัตกรรมโทรคมนาคม จากการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี 2552

ท่านที่สนใจบทความต่าง ๆในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 ของ TDRI สามารถเข้าไปอ่านและ Download บทความได้ที่ http://tdri.or.th/seminars/ye2013/


เราจะเห็นได้ว่า แม้ว่า Productivity Improvement จะเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวขานมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราให้ความสนใจ และดำเนินการอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถฝ่าฟันมรสุมทางธุรกิจ สามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงครับ









บทความจากคลังบทความ
การสร้าง Value โดย Business Model Innovation

เรามักจะใช้ทรัพยากร และทุ่มเทความพยายามไปกับการปรับปรุงกระบวนการและผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มยอดขายและผลกำไร แนวทางนี้เป็นแนวทางที่จำเป็นและต้องทำ แต่นอกเหนือจากแนวทางดังกล่าวแล้วยังมีอย่างอื่นที่ทำได้อีกไหม
จากการสำรวจ Senior Manager กว่า 4000 ท่านทั่วโลก โดย Economist Intelligence Unit พบว่าส่วนใหญ่กว่า 54% เลือกที่จะใช้แนวทางของการพัฒนา New Business Model ขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต มากกว่า New Product and Services 
"...EIU analysts concluded that “the overall message is clear: how companies do business will often be as, or more, important than what they do.”….. "
กรณีศึกษา และ 6 คำถามหลักในบทความ Creating Value Through Business Model Innovation นี้จะช่วยชี้แนวทางเกี่ยวกับ Business Model Innovation ได้ครับ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://sloanreview.mit.edu/article/creating-value-through-business-model-innovation/?social_token=7128c6d7f10b471dce3960105e1e809d&utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=sm-direct