Saturday, December 17, 2016

การให้และรับ Feedback


การให้ Feedback นั้น ผู้ให้ Feedback ก็เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนภาพตามที่เป็นจริงออกมา โดยเราจะต้องมีแนวทางให้ผู้รับเปิดใจรับฟัง และมองเห็นภาพในกระจกตามที่เราตั้งใจจะสะท้อนออกมา ไม่เช่นนั้นภาพที่สะท้อนก็จะกลายเป็นเพียงภาพที่ผู้รับมองผ่าน ๆ ไปเท่านั้น 
แน่นอนว่า กระจกเป็นเพียงการอุปมาอุปมัย ผู้ให้ Feedback จะต้องรู้ถึงจังหวะเวลาทีเหมาะสม ควรจัดลำดับความสำคัญ และไม่หวังผลเลิศ หรือใจร้อนจนทำให้ผู้รับ รู้สึกกดดันจนรับไม่ได้ รวมทั้งจะต้องเปิดโอกาสให้เป็นการสื่อสารแบบสองทางด้วย นั่นคือผู้รับสามารถสอบถาม ให้ความเห็น หรือโต้แย้งได้
การให้
Feedback เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้จัดการ ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถพื้นฐานที่สำคัญหลายอย่างเช่น Interpersonal Communication Skills เป็นต้น
จุดสำคัญที่ควรระวัง
ข้อมูลถูกต้องชัดเจน จังหวะเวลา บรรยากาศและสถานที่เหมาะสม สื่อสารเนื้อหาชัดด้วยคำพูดน้ำเสียงที่เหมาะสม เป็นผู้ฟังที่ดี รวมทั้งระวัง
Nonverbal Message ของทั้งตนเองและผู้รับ Feedback

จากการวิจัยของ Dr. Kenneth Nowack  พบว่า Feedback เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพทั้งที่บ้าน และในที่ทำงาน ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออารมณ์และสุขภาพ เช่น
-มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงยิ่งขึ้น โดยวัดจากNatural killer cells and IL-6 cytokines
-ลดการเกิดขึ้นของ Burnout Syndrome
-ทำให้มีความพึงพอใจต่องาน(Job Satisfaction) รวมถึงมี Engagement ที่สูงยิ่ง ๆขึ้น เป็นต้น

ดังนั้นการให้และรับ Feedback จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และควรจะเป็นการสนทนา พูดคุย ให้คำแนะนำในลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบสองทาง โดยมีการรับฟังซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

ท่านที่สนใจสามารถรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ การให้และรับ Feedback โดย Deborah Grayson Riegel ได้ครับ

Source:
Feedback is good for your health
Burnout Syndrome

No comments:

Post a Comment