จุดสำคัญที่จะทำให้เราสามารถจัดทำและนำ Action Plan ไปลงมือปฎิบัติให้สำเร็จได้จริง มีอยู่หลายประการ อาทิเช่น
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจถึงความสำคํญ และประโยชน์ที่ได้จากการทำ Action Plan
- มีการกำหนด Process รวมถึงเลือก Methodology และ Tools ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำ Action Planและผลักดันไปสู่การปฎิบัติจริง เช่น Hoshin Kanri(หรือ การบริหารนโยบาย-Policy Management) MBO หรือ Balanced Scorecard เป็นต้น โดยองค์กรสามารถประยุกต์ใช้วิธีการ เครื่องมือหลายอย่างพร้อมกันได้ตามความเหมาะสม
- มีการกำหนดนโยบาย และเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับปีถัดไป เช่น ในปี 2017 องค์กรต้องการที่จะบรรลุผลสำเร็จในเรื่องใดบ้าง รวมทั้งจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนระยะกลาง(Medium Term Plan) ขององค์กรด้วย
- มีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันอย่างชัดเจนก่อนการลงมือจัดทำแผนงาน คือ มี Check-Action ที่ถูกต้องก่อนการทำ PDCA แต่ละเรื่องตามแผนงาน
- มีการทำ Catch ball อย่างเหมาะสมเพื่อให้การกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องเสริมแรงกัน
- การเขียนแผนงานไม่ได้เป็นเพียงการเติมคำลงในช่องว่าง ดังนั้นเราจึงต้องมั่นใจว่า สิ่งที่เขียนมีความชัดเจน และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถทำให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จได้จริง
- มองภาพการลงมือทำ อย่างชัดเจนเช่น บุคคลที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่ต้องใช้ เป็นต้น
- มีกระบวนการในติดตาม รายงาน วัดผลอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทั่วทั้งองค์กร เป็นต้น
แผนภาพแสดงแนวคิดพื้นฐานของการจัดทำ Action Plan และการนำ Action Plan ไปปฎิบัติ |
No comments:
Post a Comment